^^ ยินดีต้อนรับ ^^

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


ประเพณีเลี้ยงผีมเหสักข์ ชาวผู้ไทยวาริชภูมิ

 ความสำคัญ
เมื่อชาวผู้ไทยอพยพข้ามโขงเดินทางมาถึงเมืองสกลนคร จึงได้เข้ามาตั้งที่พักชั่วคราวในสนามมิ่งเมืองใกล้ ๆ บ้านเจ้าเมืองสกลนคร โดยมีผู้นำชื่อว่าท้าวราชนิกูลเป็นหัวหน้าควบคุมผู้คนอพยพเข้ามาใน พ.ศ.๒๓๘๗ ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นสมัยที่ชนกลุ่มเมืองต่าง ๆ ได้เรียกร้องขอตั้งเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นหลายแห่ง ท้าวราชนิกูลซึ่งอดทนมาเป็นเวลาแรมปี จึงขออนุญาตพาไพร่พลออกไปตั้งบ้านเมือง แต่กลับถูกขัดขวางไม่ยอมยกพื้นที่แห่งหนึ่งแห่งใดให้ตั้งเมือง กลับแต่งตั้งให้บุตรท้าวราชนิกูล อีกคนหนึ่งเป็นนายหมวด นายกองควบคุมชาวผู้ไทยแทน
ท้าวราชนิกูลเห็นว่าการเจรจาไม่เป็นผลจึงนำอพยพไพร่พลมุ่งไปทางทิศตะวันตก ออกจากเมืองสกลนคร เจ้าเมืองสกลนครได้นำไพร่พลออกขัดขวางแต่ก็ไม่เป็นผล คงนำไพร่พลออกเดินทางไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านหนองหอย ใกล้กับที่ตั้งอำเภอวาริชภูมิในปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ชาวไทโย้ย ตั้งเมืองวานรนิวาสได้แล้ว
การตั้งบ้านเรือนที่บ้านหนองหอยในระยะนั้น ถือว่ายังอยู่ในเขตเมืองสกลนคร และเป็นเมืองที่ยังมิได้รับในตราภูมิอนุญาตให้ตั้งเมือง ด้วยปัญหาดังกล่าวท้าวสุพรหม บุตรท้าวราชนิกูล จึงได้ขอพึ่งบารมีพระพิทักษ์เขตขันธ์เจ้าเมืองหนองหาน ท้าวสุพรหม ได้พาบ่าวไพร่เดินทางไปกรุงเทพฯ เข้าร้องเรียนต่อพระยาภูธราภัย เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองแต่เนื่องจากไม่มีใบบอกของเจ้าเมืองสกลนครก็ไม่อาจนำ ความขึ้นกราบบังคมทูลได้ ท้าวสุพรหมจึงเดินทางกลับมาและได้รับการยกบ้านป่าเป้าเมืองไพร ในเขตหนองหาน ให้เป็นเมืองของชาวผู้ไทยแทน ต่อมาเมื่อเกิดศึกฮ่อใน พ.ศ.๒๔๑๘ กองทัพของพระยามหาอำมาติย์ (ชื่น) เดินทัพขึ้นไปที่หนองคาย ท้าวสุพรหมได้คุมเลกไพร่ของตน ๓๐ คน เข้าร่วมกับกองทัพของพระพิทักษ์เขตขันธ์ เจ้าเมืองหนองหาน ในการปราบฮ่อ เมื่อเสร็จศึกฮ่อแล้ว ท้าวสุพรหมได้ทูลขอ
บ้านผ้าขาวแขวงเมืองสกลนคร เป็นเมืองขึ้น แต่พระยาประจันตประเทศธานีคัดค้าน พระพิทักษ์เขตขันธ์จึงขอตั้งบ้านป่าเป้าเมืองไพร่ เป็นเมืองวาริชภูมิให้ท้าวสุพรหม เป็นพระสุรินทร์บริรักษ์ เจ้าเมืองวาริชภูมิ ขึ้นเมืองหนองหาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๐
ในสมัยกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมือง มณฑลอุดรธานี ได้มีคำสั่งให้เมืองวาริชภูมิ โอนมาทำราชการที่เมืองสกลนคร ใน พ.ศ.๒๔๓๕ โดยได้กรมการเมืองวาริชภูมิยังคงตำแหน่งเดิมทุกคน ใน พ.ศ. ๒๔๔๑ (ร.ศ.๑๑๗) ได้ประกาศยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงค์ ราชบุตรมาเป็นตำแหน่งข้าราชการส่วนกลางเช่นปัจจุบัน
ชาววาริชภูมิเชื่อในความมีจริงของอิทธิฤทธิ์เจ้าปู่มเหสักข์ของตนว่าสามารถ เป็นที่พึ่งในยามคับขันให้ตนได้ ทั้งยังมีเรื่องเล่าสืบเนื่องต่อกันมาช้านานในอิทธิฤทธิ์ของเจ้าปู่ ดังความตอนหนึ่งว่า
ในสมัยอดีต ขุนเพายาว เจ้าเมืองน้ำน้อยอ้อยหนู มีบุตรชาย ๒ คน ชื่อเจ้าหุน และเจ้าหาญ ขุนเพายาว ได้ปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความสุข ผู้คนมีมากด้วยทรายหลายดังน้ำ ต่างก็มีอันจะกิน สร้างบ้านแปลงเมือง อยู่มานานหลายปีถึงช่วงระยะหนึ่งบ้านเมืองประสบภาวะฝนแล้ง ข้าวไร่นาเสียหาย เก็บเกี่ยวไม่ได้ผล ประกอบกับความแห้งแล้ง มีติดต่อกันมาหลายปี ขุนเพายาวพร้อมครอบครัว บ่าว นาย ไพร่ จึงได้อพยพลงมาทางใต้ ขบวนเดินทางรอนแรมผ่านป่า ผ่านเขา เป็นเวลาช้านานหลายเดือน เนื่องจากขบวนประกอบด้วยผู้คนจำนวนมาก ขบวนเดินเท้าจึงหยุดพักผ่อนตั้งค่ายพักแล้ว จึงเดินทางต่อเป็นอย่างนี้เรื่อยมา ช่วงเวลาหนึ่งขุนเพายาวได้สั่งให้ขบวนหยุดพัก ตั้งค่ายพัก ณ ที่แห่งหนึ่งด้วยเห็นเป็นทำเลที่เหมาะ และในวันหนึ่งขณะที่ผู้คนต่างออกหาเสบียง เจ้าหาญลูกชายขุนเพายาว ผู้น้อง ยิงกวางตัวหนึ่งจนบาดเจ็บ วิ่งหนีไปได้ เจ้าหาญจึงได้แกะรอยเข้าไปอย่างใกล้ชิด จนไปพบกวางตัวนั้นนอนตายที่หน้าเจ้าหุนผู้เป็นพี่ ต่างฝ่ายต่างเลยเถียงกันว่า กวางตัวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ต่างฝ่ายโต้เถียงอย่างไม่ละลดไม่ยอมกัน ร้อนถึงขุนเพายาวผู้เป็นบิดาต้องมาช่วยตัดสินปัญหา ขุนเพายาว ตัดสินให้กวางตัวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหุน ทำให้เจ้าหาญผู้เป็นน้องเสียใจว่าบิดาไม่รัก ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์ เข้าข้างผู้เป็นพี่ชาย
ความรู้สึกน้อยใจทำให้เจ้าหาญชักชวนบ่าวไพร่ และผู้รักใคร่พร้อมด้วยครอบครัวอพยพออกจากขบวนของบิดา ไปหาถิ่นที่อยู่ใหม่ปรากฏว่ามีผู้ติดตามไปจำนวนมาก ขบวนอพยพรอนแรมป่าอยู่หลายวัน ผู้คนได้รับความลำบากเป็นอันมาก จึงได้หันไปพึ่งผีฟ้า ซึ่งชาวผู้ไทยนับถือเช่นเดียวกับชาวฮ่อ เจ้าหาญคิดว่าต่อไปข้างหน้าขบวนอพยพของตนอาจได้รับความลำบากได้รับอันตราย ตลอดจนอุปสรรคต่าง ๆ อาจถึงมีศึกสงครามเป็นแน่แท้ แต่ก็จนใจที่ชาวผู้ไทยไม่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเจ้ายึดเหนี่ยว เป็นที่พึ่งทางใจคุ้มภัยให้เลย ครั้นขบวนอพยพมาถึงธารน้ำแห่งหนึ่ง ด้านหลังมีภูเขาใหญ่มีหน้าผาสูงชัน แหงนคอตั้งบ่าเจ้าหาญจึงสั่งให้ขบวนหยุดและตั้งค่ายพักขึ้น และพาไพร่พลจำนวนหนึ่งสร้างศาลขึ้นหลังหนึ่งด้านหลังค่ายพักหน้าผาสูงแห่ง
นั้นแล้วต่อมาเมื่อเห็นผู้คนหายเหนื่อยแล้ว จึงนำผู้คน บ่าวไพร่ พร้อมใจกันอธิษฐาน อัญเชิญเทพยดาฟ้าดิน เจ้าภูผา เจ้าป่าเจ้าเขา ให้มาสถิตอยู่ ณ ศาลนั้น ขอให้เป็นกำแพงคุ้มกันขบวนของชาวผู้ไทยตลอดไป
ครั้นทำพิธีเสร็จได้พร้อมกันหาดอกไม้ธูปเทียนบูชา จัดสำรับกับข้าวคาวหวานเลี้ยงและเรียกชื่อเทพสถิตอยู่ ณ ศาลแห่งนี้ว่า "เจ้าปู่มเหสักข์" ผู้คนในขบวนต่างก็ร่วมฉลองเป็นการใหญ่
ขบวนอพยพได้รอนแรมเรื่อยมา ค่ำลง ณ ที่ใดก็ตั้งค่ายพัก เจอที่เหมาะก็พักหลายวัน ตั้งค่ายลงที่ใดก็ตั้งศาลเจ้าปู่ขึ้นไว้ เคารพบูชามิได้ขาด จากนั้นขบวนก็มุ่งลงใต้เรื่อยมา พอถึงฤดูฝนการเดินทางลำบากก็หยุดพักขบวน พอเข้าหน้าแล้งก็ออกเดินทางต่อไป ตกบ่ายวันหนึ่งขบวนอพยพผ่านเข้าไปในป่าใหญ่ อากาศร้อนอบอ้าวมากได้เกิดไฟป่าโดยมิได้คาดฝัน ไฟได้ไหม้ลุกล้อมขบวนทุกด้านอย่างรวดเร็ว ต่างคนต่างจวนตัวไม่รู้ว่าจะไปทางทิศใด เจ้าหาญเห็นจวนตัวนึกอะไรไม่ออกจึงพนมมือตั้งจิตวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อ เจ้าปู่มเหสักข์ว่า "บัดนี้ลูกหลานได้รับความลำบากยิ่งถึงคราวจวนตัวไฟป่ามาถึงแล้ว ขอบารมีท่านช่วยขจัดปัดเป่าช่วยคุ้มภัยช่วยเป็นกำแพงกันไฟป่าให้ลูกหลานด้วย ท่ามกลางเสียงร้องคร่ำครวญกู่เรียกหา และเสียงกิ่งไม้ถูกไฟป่าเผาผลาญ ปาฏิหารย์ของเจ้าปู่ก็ปรากฏไฟป่าอ่อนตัวลง บ้างก็ดับ บ้างก็เปลี่ยนทิศทาง ไม่นานท้อง
ฟ้าก็แจ่มใสอากาศโปร่งเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก คนทั้งปวงเห็นนิมิตเป็นมงคล เมื่อตั้งค่ายพักแรมในค่ำวันนั้น เจ้าหาญจึงให้จัดพิธีบวงสรวงเจ้าปู่ขึ้น ดังนั้นการเซ่นสรวงสำหรับผู้ตกทุกข์ขอความช่วยเหลือจึงมีมาตั้งแต่นั้นเป็น ต้นมา
เมื่อชาวผู้ไทยในสมัยของท้าวสุพรหม ผู้เป็นบุตรของท้าวราชนิกูลได้เป็นเจ้าเมืองคนต่อมา ได้รับพระราชทานทินนามเป็นพระสุรินทร์บริรักษ์และขอพระราชทานเมืองหนองหอย ขึ้นเป็นเมืองวาริชภูมิ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็ได้อัญเชิญเจ้าปู่มเหสักข์ แล้วตั้งศาลเจ้าปู่ขึ้นบริเวณที่ดอนซึ่งเป็นป่ารกทึบ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร (คือบริเวณบ้านนายสาย ใกล้ฝน ในปัจจุบัน) และใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่จัดพิธีเซ่นสังเวยเจ้าปู่มเหสักข์ทุกปี แต่ศาลเจ้าปู่แห่งนี้ไม่สะดวกสำหรับชาววาริชภูมิ ที่ต้องการไปไหว้เจ้าปู่เพราะเป็นป่ารกทึบ จึงได้สร้างศาลจำลองขึ้นหลังหนึ่งไว้ที่บ้านเจ้าจ้ำ (นายทองเพื่อน เหมะธุลิน) จวบจนสามารถสร้างศาลเจ้าปู่มเหสักข์จากที่ดอนมาประดิษฐานไว้ในที่แห่งนี้
ชาวผู้ไทยวาริชภูมิมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิของเจ้าปู่มเหสักข์ว่า นอกจากจะสามารถคุ้มครองป้องกันภัยต่าง ๆ ได้แล้ว การคุ้มครองป้องกันอัคคีภัยไหม้บ้าน เมื่อเกิดเหตุยังสามารถพึ่งบารมีได้อย่างชงัด นอกจากนี้ยังปรากฏนิมิตร่างของเจ้าปู่เป็นสัตว์ต่าง ๆ เช่น เสือลายพาดกลอน งูใหญ่ สุนัขสีขาว หรือปรากฏในความฝันว่าเป็นชายร่างใหญ่ ผิวดำ เสียงดัง มีอำนาจ แต่งกายนักรบโบราณ มือถือดาบ หน้าอิ่มเป็นลักษณะผู้ดี มีสกุลเป็นชั้นเจ้าตามบุคลิกของผู้นำที่สามารถ

พิธีกรรม
ประเพณีในการทำพิธีเซ่นสังเวยเจ้าปู่มเหสักข์ ในสมัยก่อนมักทำในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ชาวนาเก็บเกี่ยวเสร็จ มีเงินทองจับจ่ายอย่างสะดวก เป็นช่วงเวลาที่เดินทางสะดวกก่อนถึงฤดูฝนและมักจะทำพิธีสามปีต่อครั้ง ดังที่กล่าวกันว่า "สองปีฮาม สามปีคอบ" โดยการเซ่นสังเวยในยุคนั้นเชื่อว่า วัว-ควาย ที่ถึงคราวหมดอายุขัยจะมาตายเองที่ศาลเจ้าปู่ ผู้คนเตรียมเครื่องปรุงอาหารไว้ให้พร้อมเพื่อทำลาบแดง ลาบขาว เนื้อหาบ เนื้อคอน ถวายเจ้าปู่ก่อนหลังจากนั้น ลูกหลานเจ้าปู่จึงบริโภคให้หมดให้สิ้นห้ามนำกลับบ้าน
อย่างไรก็ดีพิธีกรรมดังกล่าวในปัจจุบันก็เปลี่ยนไปตามกาลเวลา โดยเฒ่าจ้ำและผู้รับภาระหน้าที่จะจัดเครื่องเซ่นสังเวย อาหารคาว พานบายศรี ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ ตามธรรมเนียมเพื่อไหว้เจ้าปู่ ในตอนเช้ามีการแสดง เช่น หมอลำให้ประชาชนชมในช่วงกลางวัน ส่วนในภาคกลางคืนเป็นการชุมนุมพี่น้องลูกหลานชาวผู้ไทย กะป๋องวาริชภูมิ หน้าศาลเจ้าปู่ มีการแสดงฟ้อนรำผู้ไทยกะป๋อง ฟ้อนบายศรีขณะเดียวกันก็จะมีการผูกข้อต่อแขนให้ศีลขอพรจากผู้เฒ่าผู้แก่

สาระ
วันที่ ๕ เมษายน ของทุกปี จึงเป็นวันที่มีความหมายของชาวผู้ไทยวาริชภูมิทั้งที่อยู่ใกล้และไกลที่จะ ต้องพยายามมา "ตุ้มโฮม" รวมพี่รวมน้องชาวผู้ไทยภาพที่ชาวผู้ไทยหลั่งไหลเข้ากราบไหว้บูชารูปปั้นเจ้า ปู่มเหสักข์ไม่ขาดสายท่ามกลางเสียงอวยชัยอวยพรของตนนับหมื่นคนกลางลานหน้า ศาลเจ้าปู่มเหสักข์ แสดงถึงความพร้อมเพรียงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างหาได้ยากของสังคมชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีเจ้าปู่มเหสักข์เป็นสายโยง ใยให้ศรัทธาความเชื่อของผู้คนเหล่านี้มารวมกันได้อย่างน่าสรรเสริญ

      บุญเดือนเก้า

ความสำคัญ
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรกหรือเปรต

พิธีกรรม ประกอบด้วย
๑. วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้
๒. วันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๙ ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี ๔ นำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทงหรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสาก แล้ววางแจกตามบริเวณวัด โดยวางไว้กับพื้นดิน หรือบางคนก็ฝังดิน
๓. ชาวบ้านกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่ง เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน

สาระ
โบราณท่านเขียนไว้ในหนังสือฉลอง ความว่า "ครั้งที่มหาโมคคัลลาน์แทรกแผ่นดินลงไปเยือนนรก ซึ่งเขากำลังเสวยกรรมอยู่ในแดนต่างๆ พอท่านไปถึงก็บันดาลให้ไฟนรกดับ สัตว์นรกก็ไม่ได้เสวยกรรม พอท่านจะกลับมายังโลกมนุษย์พวกสัตว์นรกได้สั่งท่านให้มาบอกญาติพี่น้องทาง โลกได้ทราบ และทำทานอุทิศส่วนกุศลไปให้บ้าง เมื่อพระโมคคัลลาน์กลับมาถึงชมพูทวีปก็ประกาศข่าวนี้ให้ประชาชนทราบ ซึ่งวันนั้นตรงกับวันดับเดือนเก้า (วันแรม ๑๕ ค่ำ)จึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันทำบุญข้าวประดับดิน"
สาเหตุที่ต้องทำพิธีตั้งแต่เช้ามืดเพราะเชื่อว่าพญายมราชปล่อยผีเปรตให้มี เวลาอยู่บนโลกมนุษย์เพียง ๒ ชั่วโมง จากตี ๔ ถึง ๖ โมงเช้า และที่ต้องวางเครื่องไทยทานไว้กับพื้นดินนั้นเพื่อให้เปรตรับเอาง่ายๆ โดยไม่ต้องมีพิธีรีตอง เดี่ยวจะกลับไม่ทันเวลา





     การแต่งงานชาวเขมรสุรินทร์

ความสำคัญ
เป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนทุกคนเพราะเป็นวันแห่งการสร้างสถาบันครอบครัว สร้างอาชีพ สร้างทายาทของวงศ์ตระกูล

พิธีกรรม
หนุ่มสาวไทยเขมรในปัจจุบันมีอิสระในการเลือกคู่ เมื่อรักใคร่กันแน่นอนแล้ว พ่อแม่ฝ่ายชายก็จะมาเยี่ยมเยียน ทำความคุ้นเคยจากนั้นก็จะส่งเฒ่าแก่ไปทำการ "ซูร์" (หมั้น) เริ่มต้นด้วยการทาบทามด้วย เหล้า ๑ ขวด หมากพลู ๑ พาน เทียน ๑ คู่ ฝ่ายหญิงจะเรียกค่าสินสอดตามแต่จะพอใจ ถ้าตกลงก็จะนัดวันแต่งงาน
การเตรียมตัวเจ้าสาว ฝ่ายเจ้าสาวเตรียมทำฟูก(ที่นอน) หมอน ผ้าสมมา(ผ้าไหว้) ญาติผู้ใหญ่ให้ครบ เตรียมเจียนหมากตากแห้งไว้เป็นของชำร่วยแจก ตัวเจ้าสาวเองต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน ก่อนถึง "ไงแซนการ์" หรือวันแต่ง
การเตรียมตัวเจ้าบ่าว ต้องเตรียมหมากแห้งไว้แจกแขกเช่นกัน ทำบายศรีสู่ขวัญเจ้าสาว เตรียม "จำแน็ย" คือ อาหารสด ผัก ฯลฯ ตามแต่ฝ่ายเจ้าสาวจะเรียกร้องไปใช้ในวันงาน รวมทั้งสินสอดด้วย
จูนจำแน็ย (วันสุกดิบ) ก่อนวันแต่ง ๑ วัน เจ้าบ่าวต้องส่งขบวนสัมภาระเหล่านี้ไปบ้านเจ้าสาว ถ้าเกิดมีลางร้ายก็อาจเลิกหรือเลื่อนวันแต่งไปก่อนก็ได้
ไงแซน (วันพิธีแต่งงาน) ที่บ้านเจ้าสาว ต้องมี "อาจารย์" เจ้าพิธี เตรียมการดังนี้
๑. บายศรี หรือ บายแสร็ย พร้อมเครื่องบริวาร มีดอกไม้ เทียน ข้าวต้มมัด กล้วย ขนมตามความพอใจ มีด้ายผูกข้อมือ (เมาะจองได)
๒. ปะรำพิธี มีเสากลางตกแต่งด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อยและดอกไม้ สำหรับเซ่นสรวงเทพ มี "ปะต็วล" แขวนหัวเสา
๓. บอนเจาะกราบ (ฟูกนั่งสำหรับบ่าวสาว) บนฟูกวางหมอนหันไปทาง "ปะต็วล" วางเครื่องบริวารที่เตรียมไว้โดยรอบ เช่น พาน ผ้าไหม เงิน หมากพลู กรวย ดอกไม้ ขันข้าวขวัญ (ข้าวสุกปั้น ไข่ต้ม มีกรวยใบตองคว่ำไว้ ขันน้ำมนตร์ เป็นต้น
๔. การแห่ขันหมาก มีมโหรีนำหน้าขบวน แห่พานบายศรี เครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษพร้อมบริวาร ถาดขนม สินสอด ขันหมาก
๕. การเข้าสู่ปะรำพิธี ฝ่ายหญิงจะมารับ นำเข้าสู่ปะรำพิธี
๖. เบิกตัวเจ้าสาว เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว เจ้าสาวจะออกมามอบหมากพลูให้เจ้าบ่าว
๗. จากนั้นเฒ่าแก่ฝ่ายชายจะมอบ "เฮ็บ" และ"ท็อง" คือ พานหมากพลู พ่อแม่เจ้าสาวก็จะแก้ห่อผ้าออกหยิบกิน เป็นการยอมรับ
๘. เจาะกราบ บ่าวสาวลงนั่งบนฟูก กราบอาจารย์ แล้ววางมือคว่ำลงบนเต้าปูนเหนือหมอน เจ้าบ่าววางทับบนหลังมือเจ้าสาว
๙. การเซ่นผี อาจารย์เป็นผู้ทำพิธีจุดเทียน เชิญผีบรรพบุรุษมารับเครื่องเซ่น ผู้เฒ่าจะ มารินน้ำรินเหล้าใส่เครื่องเซ่นแล้วยกออกไป
๑๐. การเรียกขวัญ อาจารย์จะสวดให้พร แล้วหยิบด้ายมงคลมาปั่นบนหลังมือแล้วปัดรังควานออกจากตัว โยนด้ายทิ้ง หลังจากนั้นอาจารย์จะบอกให้บ่าวสาวหงายมือขึ้น ครั้งนี้มือเจ้าบ่าวจะอยู่ล่าง ญาติพี่น้องจะเข้ามาใช้มือรองรับศอกเจ้าบ่าวไว้ อาจารย์จะใช้ด้ายมงคลปั่นข้อมือบ่าวสาว โดยหันเข้าหาตัว ๑๙ ครั้ง ผู้ร่วมงานจะร้องแซ่ซ้องพร้อมกันว่า "โม…เยอ…" พอเสร็จอาจารย์จะยืนขึ้นเซ่นสรวงเทวดาบนปะต็วล ทุกคนจะร้องรับ "เจ…ยอง…เจ เป็ง…ยอง…เป็ง" อาจารย์จะหยิบอาหาร เครื่องเซ่นมาป้อนบ่าวสาวคนละคำ จากนั้นแขกเหรื่อก็เข้ามาผูกข้อมือ อวยชัยให้พร ให้เงินของขวัญ แล้วจึงกินเลี้ยงกัน
๑๑. ส่งตัวเจ้าสาว เจ้าสาวหาบน้ำ เจ้าบ่าวแบกฟืน หางขบวนช่วยกันแบกฟูก หมอนและผ้าไหว้ พาแห่ไปบ้านเจ้าบ่าว มอบหมากพลูขอทางผ่าน ฝ่ายเจ้าบ่าวจะรับน้ำและฟืนไป เจ้าบ่าวเกี่ยวก้อยเจ้าสาวขึ้นเรือน
๑๒. การขึ้นเรือน ญาติฝ่ายชายจะนำน้ำขมิ้นมาล้างเท้าให้คู่บ่าวสาวก่อน แล้วให้เหยียบบนกระเชอใส่ข้าวเปลือก เหล้า ผ้าขาว และขวาน เป็นสัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองเป็นสุข พอขึ้นเรือนแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายชายจะนำน้ำขมิ้นและหม้อข้าวเก่ามาให้เจ้าสาวล้างก้นหม้อ แสดงความยินยอมพร้อมใจจะเป็นแม่ศรีเรือน แล้วมอบฟูกหมอนให้พ่อแม่เจ้าบ่าว
๑๓. การอาบน้ำให้พ่อแม่ฝ่ายชาย ต้องจุดเทียนกราบพ่อแม่ก่อน แล้วนำน้ำที่เจ้าสาวหาบมาจากบ้านมาอาบให้พ่อแม่ แล้วมอบผ้าสมมาให้ผลัดเปลี่ยนนุ่งห่มใหม่
๑๔. ไหว้และมอบผ้าสมมาให้ญาติเจ้าบ่าว ซึ่งจะได้รับเงินของขวัญตอบแทนจนคุ้มราคา
๑๕. ไหว้เจ้าบ่าว (พละกันเลาะ) เจ้าสาวไหว้ด้วยโสร่ง เสื้อขาวคอกลม พร้อมสไบสองผืน เจ้าบ่าวจะมอบของขวัญให้เมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้าเสร็จ เจ้าสาวจัดขนม ผลไม้ น้ำ เหล้าให้กิน
การเสี่ยงทาย มีสำรับอาหารตั้งไว้ให้บ่าวสาวตักป้อนกันและกัน ใครตักข้าวก่อนตักกับข้าว แสดงว่ารู้จักอดออม ประหยัด ใครตักกับก่อนแสดงว่าฟุ่มเฟือย ญาติจะเตือนฝ่ายหญิงให้รู้จักอดออมให้มาก

สาระ
จะเห็นว่าการแต่งงานของชาวสุรินทร์นั้นเน้นการขอบคุณและระลึกถึงเทพ ผีบรรพบุรุษและยังไม่ละทิ้งตำนานและความเชื่อเรื่องความรักของเจและยอง จะพบว่าปะต็วล เป็นสัญลักษณ์เด่นที่สุดในปะรำพิธี (โรงเรือน) และในขบวนแห่นั้นเต่าเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์อยู่ แล้ว จึงจัดเข้าเป็นส่วนประกอบของการแห่ และที่สำคัญคือตัญญูปะกำเป็นเครื่องเซ่นผีบรรพบุรุษที่จะลืมไม่ได้ในพิธีแซ นการ์ เพราะเน้นการระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว




ประเพณีเลี้ยงผีประจำปี


ความสำคัญ
ประเพณีแซงสนัมประจำกะมอ เป็นประเพณีพื้นบ้านในกลุ่มคนที่เชื่อว่าผีเป็นวิญญาณที่มีอำนาจลึกลับ สามารถทำให้คนเจ็บป่วยได้ การบำบัดรักษามิให้ร่างกายเจ็บป่วยคือ การป้องกันมิให้วิญญาณผีเข้าสิงในร่างได้อีกหลังจากที่ได้ทำพิธีปัดเป่าให้ ผีออกไปจากร่างกาย โดยแม่ครูหรือแม่หมอ ทำพิธีเหยา (เยา) คุมผีให้ออกไปแล้ว เพื่อเป็นการซ่อมเสริมสุขภาพของตน ในกลุ่มคนที่รักษาด้วยการเหยาในแต่ละหมู่บ้านจะรวบรวมผู้ที่มีศรัทธาต่อแม่ ครู ซึ่งเคยให้การบำบัดรักษาคนมาแล้วให้มาทำพิธีร่วมกันเป็นประจำทุกปี โดยจัดทำพิธีขึ้นในหมู่บ้านของตน และนิยมจัดกันระหว่างช่วงเดือน ๔ ถึง เดือน ๕ ซึ่งเป็นช่วงฤดูร้อน ดอกไม้ป่าบานสะพรั่งสามารถเก็บมาบูชาแม่ครูและจัดผูกร้อยห้อยตามเสาไม้ โดยเฉพาะดอกจำปา ซึ่งนิยมนำมาเป็นพวง ๆ ประดับเสากลางลานพิธีกรรม พิธีกรรมเช่นนี้มีชื่อเรียกว่า "ลงสนาม" หรือในภาษาไทยโซ่ เรียกว่า "แซงสนัม" ซึ่งนอกจากจะเป็นการเลี้ยงผีเชิญผีออกจากร่างแล้ว ยังเป็นการบูชาแม่ครูหรือหมอเหยาไปพร้อมกันด้วย พิธีแซงสนัมประจำกะมอจึงมีความสำคัญทั้งในเชิงความเชื่อในด้านการตรวจสุขภาพ มิให้เจ็บป่วยจากวิญญาณผีร้ายและเป็นการตอบแทนแม่ครูที่เคยรักษาตนให้พ้นจาก ความเจ็บป่วยที่ผู้เจ็บป่วยหรือ "ลูกแก้ว" จะพบปะแม่ครูทำพิธีตอบแทนบุญคุณแม่ครูปีละ ๑ ครั้ง ตลอดไป

พิธีกรรม
พิธีกรรมในงานลงสนามเลี้ยงผี โดยปกติจะจัดขึ้น ๒ วัน โดยช่วงก่อนถึงวันงานจะมีผู้ที่ได้รับการอุปโลกให้เป็นหัวหน้า กลุ่มผู้ทำพิธีที่เรียก "ลูกแก้ว" จะปรึกษาหารือกำหนดวันลงสนาม ติดต่อนัดหมายกับแม่ครู รวมทั้งรวบรวมเงินทองที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในวันทำพิธีกรรมและค่าตอบแทนแม่ ครู (บ้านกกส้มโฮง ตำบลกุสุมาลย์ เก็บคนละ ๒๐๐ บาท รวม ๑๙ คน) ครั้นถึงวันงานในภาคเช้าจะช่วยกันทำตูบทำผาม (ปะรำพิธี)
ปะรำพิธีจัดขึ้นไม่ยากนัก โดยหาบริเวณที่เป็นลานกว้างด้านหนึ่งจะปลูกร้านปักเสาเป็นล็อคๆ ให้มีความกว้างยาวพอที่จำนวนลูกแก้ว และแม่ครูจะนั่งทำพิธีหรือนอนพักผ่อนในเวลากลางคืนได้ รวมทั้งมีพื้นที่จะวางเครื่องใช้สิ่งของที่จำเป็นปกคลุมหลังคาด้วยวัสดุที่ หาได้จากท้องถิ่น เช่น หญ้าแฝก ผ้าใบ ผ้าร่ม ด้านหนึ่งของปะรำพิธีหาแผ่นไม้หรือแผ่นสังกะสีกั้นไว้มิให้โล่งแจ้งเพื่อวาง เครื่องบูชาของลูกแก้วแต่ละคน
ปัจจุบันอาคารที่ใช้ทำพิธีมักปลูกคล้ายปะรำยาว ๆ ทรงหมาแหงน สำหรับหมู่บ้านที่มีเต้นท์ผ้าใบชนิด ๒ - ๓ ห้อง ก็นำมาใช้ได้อย่างสะดวก เพียงแต่หาสังกะสีมากั้นด้านหนึ่งเพื่อบดบังเครื่องบูชามิให้โล่งแจ้งเกินไป นัก
การจัดเตรียมอีกส่วนหนึ่งคือ การทำเสากลางลานพิธีไว้รำ ตกแต่งด้วยดอกไม้ โดยเฉพาะดอกจำปา นำมาร้อยเป็นพวง แขวนไว้ตามปลายร่มขนาดใหญ่ รอบ ๆ เสากลางลานพิธี จะมีโอ่งน้ำ กาละมัง จะใส่น้ำไว้ใช้คล้ายเป็นอ่างน้ำมนต์ใช้ลูบหน้าเวลาร้อน ใช้ตักน้ำรดแม่ครูและลูกแก้วด้วยกัน ตลอดจนใช้ลอยเรือกาบกล้วยเพื่อสะเดาะเคราะห์ ส่งเคราะห์ส่งผีคืนสู่ถิ่นเดิมของตน
การตกแต่งเสากลางลานพิธี เสาไม้ต่าง ๆ มักนิยมนำดอกไม้มาประดับ เช่น ดอกรัง ดอกจิก และดอกจำปา ในช่วงการจัดพิธีลงสนามเป็นช่วงฤดูดอกไม้บานดังคำกลอนที่ว่า "เดือนสามค่อย (คล้อย) ดอกไม้บานคี่ (คลี่) เดือนสี่ค่อยดอกไม้บานหลาย"
ในการตกแต่งปะรำพิธี หมอเยาบางคนจะใช้ไม้อัดแผ่นมาทำเป็นรูปตัวช้างม้า ทาด้วยสีเหลือง หมายถึงเป็นสัตว์พาหนะเชิญให้ผีมาประทับร่างตนและส่งผีกลับที่เดิม
ลูกแก้วทุกคนที่เข้าร่วมพิธีจะเตรียม หมอน ๑ ใบ ขันธ์ ๕ ซึ่งประกอบด้วยเทียน ๕ เล่ม ดอกไม้ ๕ มัด เงินค่าพิธี แล้วแต่ละแห่งกำหนด (เช่น ๑ บาท ๕ สลึง หรือ ๖ สลึง) อุปกรณ์ในการเสี่ยงทาย เช่น ดาบ (ง้าว) ข้าวสาร เป็นต้น อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีผู้จัดหาไว้ให้แม่ครูรวมทั้งเสื้อผ้าที่จะแต่งเมื่อทำ พิธีและอุปกรณ์เสี่ยงทายบางอย่างเช่น ไข่ไก่ ๑ ฟอง เหรียญบาท ๕ เหรียญ เป็นต้น ตลอดจนการเตรียมหมอแคน ดนตรี กลอง
ก่อนเวลาเที่ยงวันหมอเยาจะแต่งตัวเข้าสู่ปะรำพิธีพร้อมด้วยลูกแก้ว ทุกคนเข้าประจำที่ของตน ลูกแก้วนั่งประนมมือบูชาครู แม่ครูพนมเพื่อเชิญผีเข้าสู่ร่างตน (แม่ครูคำสี ศรกายสิทธิ์บ้านใต้ มีผี ๒ ตัว ที่เชิญเข้าทรง คือ อ้ายคำแดง และนางสายทอง) โดยร่างกายจะสั่นไหว เมื่อผีเข้าประทับร่างแล้วจะทำพิธีเสี่ยงทายว่าจะเริ่มพิธีกรรมเชิญผีอื่น ๆ ได้หรือไม่
การเสี่ยงจะใช้การจับเหรียญเงินวางไว้ที่นิ้วมือ และการตั้งไข่ไก่ที่ฝ่ามือ ถ้าหากวัสดุไม่ร่วงจากนิ้วมือจากฝ่ามือ แสดงว่า ถึงเวลาทำพิธีได้แล้ว แต่ถ้าวัสดุร่วงหล่นแม่ครูจะยังไม่ทำพิธี จะรอเวลาแล้วทำการเสี่ยงทายใหม่ จนแน่ใจว่าควรเริ่มพิธีได้แล้วพิธีกรรมในขั้นต่อไปคือ การขับลำเชิญผีทั้งหลายให้ลงมารับรู้การเลี้ยงผีประจำปีครั้งนี้ หลังจากนั้นบรรดาแม่ครูและลูกแก้วจะออกฟ้อนรำไปรอบ ๆ เสาลานพิธีท่ามกลางเสียงแคนที่บรรเลงเร้าใจ เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารจะหยุดพักหลังจากนั้นก็ทำพิธีบอกกล่าวผี และออกฟ้อนรำเป็นที่สนุกสนานด้วยท่าทางต่าง ๆ ซึ่งบรรดาผู้ทำพิธีเชื่อว่าเป็นความต้องการของผีให้ทำเช่นนั้น
การทำพิธีเลี้ยงผีจัดขึ้นในครึ่งวันแรก กลางคืนและวันรุ่งขึ้นในช่วงเช้าและบ่าย ผู้เข้าประกอบพิธีจะใช้เวลากับการฟ้อนรำและให้แม่ครูปัดเป่าให้ร่างกายตน แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ หลังจากนั้นจึงเสี่ยงทายมีการทำกระทงหน้าวัวเพื่อสะเดาะเคราะห์ ส่งวิญญาณผี บางแห่งทำเป็นเรือกาบกล้วยลอยน้ำไปเป็นเสร็จพิธีกรรม หลังจากนั้นแม่ครูหรือหมอเยาจะกลับบ้านช่องถิ่นฐานของตน

สาระ
สาระของพิธีกรรมเลี้ยงผีลงสนามของชนกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น กลุ่มผู้ไทยโซ่ ญ้อ โย้ย กะเลิง ลาว ที่เชื่อในเรื่องวิญญาณทำให้เกิดความเจ็บป่วย เชื่อว่าผีทุกชนิด เช่น ผีมูล (ผีบรรพบุรุษ) ผีน้ำ ผีป่า ผีนา ผีฟ้า ทำให้เจ็บป่วยได้ ทั้งนี้เพราะการทำนาหาของป่าต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ การรักษาสุขภาพที่ดีคือการปัดเป่าขอร้องให้ผีออกจากร่างกายด้วยผู้ที่มีความ รู้ มีอำนาจเหนือกว่าตน ด้วยการจัดทำพิธีเลี้ยงผีและเลี้ยงหมอเยาไปพร้อม ๆ กัน นับเป็นการรักษาสุขภาพ ตามระบบความเชื่อดั้งเดิมแบบพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งที่ยังมีอยู่ในชนบทภาค อีสาน


ประเพณีตรุษสงกรานต์
ความสำคัญ
เพื่อให้ประชาชนได้รดสรงน้ำหลวงพ่อพระใสโดยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ได้อัญเชิญลงมาประดิษฐานบนยาน แล้วนำออกมาแห่ไปรอบ ๆ เมืองให้ประชาชนได้นำน้ำอบน้ำหอมมาสรงโดยทั่วกัน
๑. เพื่อจัดกิจกรรมตามประเพณีสงกรานต์ของชาติไทย ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล
๒. เพื่ออนุรักษ์การละเล่นกีฬาพื้นเมืองไว้ มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา

พิธีกรรมหรือกิจกรรม
ตอนเช้าของวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน มีการทำบุญตักบาตรเวลา ๐๙.๐๐ น. มีพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสลงมาประดิษฐานบนยาน โดยแห่ไปรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ ให้ประชาชนได้สรงน้ำและเริ่มการแข่งขันกีฬาพื้นเมือง ปล่อยนก ปล่อยปลา ตามประเพณี โดยมีบุคคลสำคัญของจังหวัด ผู้ว่าราชการ นายกเทศมนตรี เข้าร่วมกิจกรรมด้วย
ช่วงบ่ายมีการแห่หลวงพ่อพระใสซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดหนองคายนับถือ ไปตามถนนรอบเมืองพร้อมกับขบวนแห่พระพุทธรูปของทุกคุ้มทุกวัด เพื่อให้ประชาชนได้นำเอาน้ำอบน้ำหอมสรงและกราบไหว้อย่างใกล้ชิด
ตอนค่ำ จะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ มีมหรสพสมโภชตลอด ๓ วัน
วันที่ ๑๖ เมษายน มีพิธีทำบุญมหาชาติและพิธีอัญเชิญหลวงพ่อพระใสขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถ

สาระ
การจัดกิจกรรมในวันตรุษสงกรานต์เป็นการจัดตามประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติมา แต่โบราณกาล ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคีความเพลิดเพลินสนุกสนานและความเชื่อของ ท้องถิ่นว่า เมื่อได้ประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ตามประเพณีแล้วจะก่อให้เกิดความสุขความเจริญแก่บ้านเมืองและชุมชนตลอดไป
บุญปราสาทผึ้งไพทวน
ความสำคัญ
เป็นประเพณีของชาวอีสาน ตามฮีตสิบสองคอง ๑๔ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือวันออกพรรษา ต้องทำปราสาทผึ้ง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า
การทำบุญปราสาทผึ้งจะเริ่มในตอนเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านทำอาหารไปตักบาตรเลี้ยงพระที่วัด เสร็จจากเลี้ยงพระแล้วก็จะแบ่งหน้าที่กันทำเป็นกลุ่มๆ เช่น บางกลุ่มจะไปช่วยกันหุงน้ำมันมะพร้าว เพื่อใช้จุดประทีปบูชา
ในวันนี้และแบ่งส่วนถวายวัดไว้ใช้ตามไฟในช่วงพ้นพรรษาไปแล้ว กลุ่มช่างฝีมือจะไปปลูกร้านประทีปไว้ที่หน้าวิหารหรือหน้าหอแจก (ศาลาการเปรียญ)เป็นร้านไม้สูงประมาณเมตรเศษๆ พื้นร้านปูด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ ตกแต่งร้านด้วยทางมะพร้าวและต้นกล้วยให้ดูงดงาม เพื่อวางถาดประทีป และทำโครงปราสาทผึ้งด้วยไม้ไผ่ และกาบกล้วย แล้วแทงหยวกเป็นรูปเขี้ยวหมา ตกแต่งโครงปราสาทเป็นรูปหอปราสาท ซึ่งจะมีขนาดเล็กใหญ่ขึ้นกับศรัทธาและกำลังของคุ้มบ้านฝ่ายหญิงจะแบ่งกำลัง ทำถาดประทีปไส้ประทีบ และทำดอกผึ้งประดับปราสาท ถาดประทีบจะทำจากผลมะตูมกา ส้มกา ตามป่าในหมู่บ้าน นำมาผ่าซีกแล้วควักไส้ออกให้หมด ขูดผิวให้เรียบ ไส้ประทีบจะนำด้ายมาฟั่นให้เป็นรูปตีนกา เพื่อรำลึกถึงแม่กาที่ได้อุปการะเลี้ยงดูพระกกุธสันโธ ปัจเจกพระพุทธเจ้าในอดีต แล้ววางไส้ประทีบลงในถาดประทีป เทน้ำมันมะพร้าวลงถาด
ประทีป เพื่อใช้จุดที่ร้านประทีบหรือที่บ้านของตน
ฝ่ายหญิงที่ทำดอกผึ้งจะนำขี้ผึ้งมาใส่ถ้วยหรือขันลงลอยในน้ำร้อนที่ตั้งไฟ อ่อนๆ ไว้ให้ขี้ผึ้งละลาย แล้วใช้ผลมะละกอปอกเปลือกก้นมะละกอแล้วเอาก้นมะละกอจุ่มขี้ผึ้งที่ละลายแล้ว ยกลงจุ่มน้ำเย็น ดอกผึ้งจะหลุดร่อนออกมา อยากได้ดอกผึ้งหลากสีจะใช้สีขี้ผึ้งสีต่าง ๆ กัน เหลืองเข้มเหลืองอ่อน เหลืองสด ขาว แล้วใช้ดอกไม้ป่า ดอกไม้พื้นบ้านเสียบตรงกลางเป็นเกสร แล้วนำไปประดับตัวปราสาทได้ปราสาทผึ้งที่งดงาม จากนั้นจัดเครื่องไทยธรรม มี สมุด ดินสอ ผ้าสบงจีวร และเครื่องใช้อื่นๆ และปัจจัยทั้งหลายตกค่ำชาวบ้านจะแห่ปราสาทผึ้งไปวัด เมื่อถึงวัดจะนำปราสาทผึ้งไปเดินเวียนประทักษิณวิหารหรือหอแจกก่อน ๓ รอบจึงจะเอาปราสาทผึ้งขึ้นไปตั้งไว้หน้าพระประธาน ในวิหารหรือบนหอแจก หลังจากกราบพระประธานแล้ว ชาวบ้านยัง
ไม่ถวายปราสาทผึ้งจะลงมาที่ร้านประทีปมาร่วมกันจุดประทีปบูชา ขณะจุดประทีปก็จะจุดดอกไม้ไฟ พลุ ไปด้วย และจุดโคมลอย นอกจากจะจุดธูปเทียนบูชาไปด้วย
เมื่อจุดประทีปบูชาพระพุทธเจ้าแล้วชาวบ้านจะกลับขึ้นไปที่วิหารหรือหอแจก ฟังพระสวดปริตรมงคล และฟังพระเทศน์อานิสงส์การทำปราสาทผึ้ง ๑ กัณฑ์ แล้วจึงถวายปราสาทผึ้ง และเครื่องไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นอันเสร็จพิธีการทำบุญปราสาทผึ้ง เมื่อพระภิกษุสงฆ์ชักเครื่องไทยธรรมไปแล้วชาวบ้านจะนำปราสาทผึ้งมาทิ้งไว้ ตามตนไม้

พิธีกรรม
การทำบุญปราสาทผึ้งของไทพวนบ้านหนองกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จะเริ่มจากทำบุญตักบาตรในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ แต่ละคุ้มจะแห่ปราสาทผึ้งไปที่วัด นำปราสาทผึ้งไปแห่เวียนรอบวิหาร หรือหอแจก ๓ รอบ จึงนำขึ้นไปไว้บนหอแจก หรือวิหาร แล้วลงมาจุดถาดประทีปบูชาพระพุทธเจ้า ปล่อยโคมลอย (โคมลม) เสร็จขึ้นไปถวายปราสาทผึ้งและเครื่องไทยธรรม ฟังสวดพระปริตรมงคล และฟังเทศน์อานิสงส์การทำบุญปราสาทผึ้ง เมื่อพระภิกษุสงฆ์ชักเครื่องไทยธรรม และดอกผึ้งเพื่อนไปฟั่นเป็นเทียนไว้ใช้จุดในช่วงออกพรรษาไปแล้ว ก็จะนำปราสาทผึ้งมาทิ้งไว้ตามโคนต้นไม้ในวัด เป็นเสร็จพิธีการทำบุญปราสาทผึ้ง เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า









วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บุญบั้งไฟพิธีกรรมของชาวอีสาน

บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง

ในสองพิธีกรรมที่อยู่คนละภาคนี้ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของสัญลักษณ์ที่ใช้อันส่อไปทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ไม้มาแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายเรียกว่า "บักแบ้น" หรือ "ปลัดขิก" ในอีสานหรือ "ขุนเพ็ด" ในภาคกลางเข้าร่วมขบวนแห่ ทั้งยังมีการร้องเซิ้งด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์

สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์ระหว่าง ฟ้ากับดิน หญิงกับชาย ที่เป็นพลังก่อกำเนิดชีวิต และเป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความสัมพันธ์กับการขอฝน ซึ่งเป็นที่มาของพลังแห่งการเติบโตของพืช และด้วยเหตุที่อวัยวะเพศ และเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของงานบุญ จึงถือว่างานบุญบั้งไฟเป็น งานบุญของพระยามาร ซึ่งจัดแข่งกับงานบุญของพระพุทธเจ้า
"ปลัดขิก"
สัญลักษณ์ทางเพศที่นำมาล้อเลียนในขบวนแห่


ขั้นตอนการจัดการประเพณีบุญบั้งไฟ
ประชุมชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ พระสงฆ์ในหมู่บ้านเพื่อขอความเห็นว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟหรือไม่ ถ้าตกลงจัดก็จะทำในข้อถัดไป แต่ถ้าไม่จัดจะต้องส่งตัวแทน (ผู้มีอายุชายในหมู่บ้าน) และพ่อเฒ่าจ้ำ (หมอผีประจำหมู่บ้าน) ไปขอขมาต่อเจ้าปู่เพื่อขอเลื่อนไปจัดในปีถัดไป (พิธีกรรมนี้ไม่มีผู้หญิงเกี่ยวข้อง)
เมื่อตกลงจัดผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้านจะส่งข่าวบอกกล่าวเชื้อเชิญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมงานบุญ เรียกว่า "เตินป่าว" ในสมัยถัดมาบ้านเมืองเจริญขึ้นก็พัฒนามาเป็นการแจกหนังสือเชิญชวนเรียกว่า "สลากใส่บุญ" เหตุที่ถือว่างานนี้เป็นงานบุญก็เพราะว่า วัดเป็นที่รวมของการจัดกิจกรรมของชุมชน การเตรียมการต่างๆ ตั้งแต่การทำบั้งไฟก็มักจะเริ่มจากพระ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นฉบับ (ต้นฉบับ) ในวาระโอกาสนี้ยังมีการแทรกประเพณีทางพุทธศานาเข้าไปด้วย เช่น การบวชและการฮดสงฆ์ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง กองฮด พิธีการในการยกย่องพระสงฆ์
ชาวบ้านจะเรี่ยไรเงินและสิ่งของตามศรัทธาเพื่อร่วมสมทบกันสร้างบั้งไฟ (ในสมัยโบราณจะทำเพียงบั้งเดียว) บอกบุญให้บ้านเรือน 3-4 หลังคารวมกันต้อนรับแขกจากต่างบ้านที่มาร่วมบ้านหนึ่ง (ซึ่งจำนวนไม่มากนักจะมาพร้อมบั้งไฟของหมู่บ้าน เช่น พระภิกษุ สามเณร หญิงชายที่มาร่วมขบวนแห่) ส่วนใหญ่ก็มักจะกำหนดให้ครอบครัวที่บวชลูกหลานเป็นเจ้าภาพ (เพราะต้องจัดงานเลี้ยงญาติพี่น้องอยู่แล้ว)
ชาวบ้านที่ได้รับมอบหมายจะสร้างปะรำ หรือ "ผาม" หรือ "ตูบบุญ ซึ่งทำด้วยโครงไม้จริง ยกพื้นข้างบนให้พระสงฆ์นั่งฉันภัตาหาร ส่วนข้างล่างปูด้วยใบไม้หรือฟางข้าวให้หญิงสาวนั่ง โดยมีหญิงสูงอายุควบคุมดูแลหญิงสาวเหล่านี้ เพื่อป้องกันมิให้ถูกชายในขบวนเซิ้งลวนลามจนเกินเหตุ
ในวัดจะมีการทำบั้งไฟโดย "ฉบับ" ซึ่งมักจะเป็นพระ โดยมีลูกมือคือชาวบ้านผู้ชาย ในสมัยผมยังเป็นเด็ก 20 กว่าปีผ่านมาแล้ว ผมก็เป็นลูกมือพระด้วยการไปหาไม้สำหรับมาเผาเป็นถ่านสำหรับคั่วผสมกับดินประสิวเรียกว่า การทำหมื่อ ซึ่งมีสูตรจำเพาะของช่างแต่ละคน ตำด้วยครกมองให้ละเอียดร่วน ทดสอบด้วยการนำมาโรยเป็นทางยาวแล้วจุดไฟดูความเร็วของการปะทุ หากปะทุช้าก็จะต้องใช้สูตรผสมใหม่ตามแต่ต้นฉบับจะกำหนดบอกมา

การทำบั้งไฟในสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่ลำขนาดใหญ่ที่สุด ทะลวงปล้องให้ถึงกัน ภายนอกจะใช้ตอกไม้ไผ่ถักเป็นเชือกมัดรอบลำไผ่ให้แน่นเพื่อไม่ให้ลำไผ่แตก ส่วนหัวปล้องสุดท้ายจะถูกอุดด้วยแผ่นไม้หนาพอควร แล้วทำการอัดบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ให้แน่นด้วยการตำ หรือใช้คานดีดคานงัด (สมัยใหม่ใช้แม่แรงยกล้อรถบรรทุกแทนสะดวกกว่ากันดังภาพซ้ายมือ)

ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากลำไผ่กลายมาเป็นท่อเหล็กหรือท่อประปา (ซึ่งอันตรายมากเมื่อมีการระเบิดใส่ผู้คนอย่างที่เป็นข่าว) ตอนหลังหันมาใช้ท่อพีวีซีแทนซึ่งก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี จากการบูชาแถนมาเป็นการพนันขันต่อเพื่อการเดิมพัน จำนวนบั้งไฟที่จุดในแต่ละที่จึงมีจำนวนมาก และสร้างความเสียหายต่อชุมชนในทิศที่บั้งไฟถูกจุดออกไป (เพราะสามารถไปไกลได้หลายสิบกิโลเมตร)

นอกจากบั้งไฟแล้ว ยังมีการทำพลุ พะเนียง ดอกไม้ไฟ ตะไล (เพื่อจุดในการแห่ร่วมด้วย) นอกจากนั้นตัวบั้งไฟยังต้องมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามเรียกว่า การเอ้ ซึ่งก็เป็นฝีมือของพระอีกเช่นกัน

 ประเพณีแห่ผีตาโขน จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า “งานบุญหลวง” หรือ “บุญผะเหวด” ซึ่งตรงกับเดือน 7 มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์มหาชาติประจำปีกับพระธาตุเจดีย์สองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย

     ประเพณีแห่ผีตาโขน

 ต้นกำเนิดผีตาโขน
        ที่มานั้นไม่ชัดเจน แต่กล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ใกล้เคียงกับการบูชาบรรพบุรุษของอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง (ในอดีตแนวเขตแดน ด่านซ้าย เชียงคาน และหล่มเก่า เป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของอาณาจักรล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง) ในอีกที่มาหนึ่งกล่าวกันว่า การแห่ผีตาโขนเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและนางมัทรีจะเดินทางออกจากป่า กลับสู่เมืองบรรดาผีป่าหลายตนและสัตว์นานาชนิดอาลัยรักจึงพาแห่แหนแฝงตัวแฝงตน มากับชาวบ้านเพื่อมาส่งทั้งสองพระองค์กลับเมือง เรียกกันว่า “ผีตามคน” หรือ “ผีตาขน” จนกลายมาเป็น “ผีตาโขน” อย่างในปัจจุบัน

 ชนิดของผีตาโขน
        ผีตาโขน ในขบวนแห่จะแยกเป็น 2 ชนิดคือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก

ผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นหุ่นรูปผีทำจากไม้ไผ่สานมีขนาดใหญ่กว่าคนธรรมดาประมาณ 2 เท่าประดับตกแต่งรูปร่างหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เวลาแห่ คนเล่นจะต้องเข้าไปอยู่ข้างในตัวหุ่น แต่ละปีจะทำผีตาโขนใหญ่เพียง 2 ตัว คือผีตาโขนชาย1ตัวและหญิง1ตัว สังเกตจากเครื่องเพศปรากฏชัดเจนที่ตัวหุ่น ผู้มีหน้าที่ทำผีตาโขนใหญ่จะมีเฉพาะกลุ่มเท่านั้น เพราะคนอื่นไม่มีสิทธิ์ทำ การทำก็ต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน ถ้าได้รับอนุญาตแล้วต้องทำทุกปีหรือทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปี

ผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนเล็กเป็นการละเล่นของเด็ก ไม่ว่าเด็กเล็ก เด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิงชาย มีสิทธิ์ทำและเข้าร่วมสนุกได้ทุกคน แต่ผู้หญิงไม่ค่อยเข้าร่วมเพราะเป็นการเล่นค่อนข้างผาดโผนและซุกซน


การแต่งกายผีตาโขน



ผู้เข้าร่วมในพิธีนี้จะแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ เครื่องแต่งกายของผีตาโขน ส่วนใหญ่มักประกอบด้วย

ส่วนหัวหรือที่เรียกว่าหน้ากากนั้น ทำด้วย "หวด" หรือภาชนะที่ใช้นึ่งข้าวเหนียว ซึ่งเป็นส่วนด้านบนดูคล้ายหมวก ส่วนหน้านั้นทำจากโคนก้านมะพร้าว นำมาตัดปาดให้เป็นรูปหน้ากากและเจาะช่องตา จมูกนั้นทำจากไม้เนื้ออ่อน แกะให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของผู้สร้างสรรค์ โดยทำเป็นลักษณะยาวแหลมคล้ายงวงช้าง ส่วนเขานั้นทำจากปลีมะพร้าวแห้ง โดยนำส่วนประกอบต่าง ๆ มาเย็บติดเข้าไว้ด้วยกัน และทาสีสันวาดลวดลายไปบนด้านหน้าของหน้ากากนั้น ๆ หลังจากนั้นจะเย็บเศษผ้าติดไว้บริเวณด้านบน(หลัง) เพื่อให้คลุมส่วนคอของผู้ใส่ไปจนถึงไหล่

ด้านเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย นั้น เป็นชุดที่ทำจากเศษผ้านำมาเย็บติดกัน และมี "หมากกะแหล่ง" หรือกระดิ่ง (คล้ายกับที่แขวนคอโค, กระบือ) แขวนผูกไว้บริเวณเอว เพื่อให้เกิดเสียงดังเป็นจังหวะเวลาเดิน และส่ายสะโพก

ส่วนประกอบสุดท้าย คือ ดาบหรือง้าว ที่จะทำจากไม้เนื้ออ่อน ในขบวนแห่จะประกอบไปด้วยการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน
การละเล่นผีตาโขน


 เนื่องจากงานประเพณีผีตาโขนเป็นงานบุญใหญ่ซึ่งเรียกกันว่างานบุญหลวง จัดขึ้นที่วัดโพนชัย อ.ด่านซ้าย โดยมีการละเล่นผีตาโขน มีการเทศน์มหาชาติ มีการทำบุญพระธาตุศรีสองรักและงานบุญต่างๆเข้ามาผสมอยู่รวม ๆ กัน จึงมีการจัดงานกัน 3 วัน

วันแรก เริ่มพิธีตอนเช้า 04.00-05.00 น. คณะแสนหรือข้าทาสบริวารของเจ้าพ่อกวนจะนำอุปกรณ์ มีด ดาบ หอก ฉัตร พานดอกไม้ ธูปเทียน ขันห้าขันแปด(พานดอกไม้ 5 คู่ หรือ 8 คู่) ถือเดินนำขบวนไปที่ริมแม่น้ำหมัน เพื่อนิมนต์พระอุปคุตต์ พระผู้มีฤทธานุภาพมาก และมักเนรมิตกายอยู่ในมหาสมุทร เพื่อป้องกันภัยอันตราย และให้เกิดความสุขสวัสดี เมื่อถึงแล้วผู้อันเชิญต้องกล่าวพระคาถาและให้อีกคนลงไปในน้ำ งมก้อนหินใต้น้ำขึ้นมา ถามว่า “ใช่พระอุปคุตต์หรือไม่” ผู้ที่ยืนอยู่บนฝั่งตอบว่า “ไม่ใช่” พอก้อนหินก้อนที่ 3 ให้ตอบว่า “ใช่ นั่นแหละพระอุปคุตต์ที่แท้จริง” เมื่อได้พระอุปคุตต์มาแล้ว ก็นำใส่พาน แล้วนำขบวนกลับที่หอพระอุปคุตต์ ทำการทักขิณาวัฏ 3 รอบ มีการยิงปืนและจุดประทัด ซึ่งช่วงเวลานั้นบรรดาผีตาโขนที่นอนหลับหรืออยู่ตามที่ต่างๆก็จะมาร่วมขบวนด้วยความยินดีปรีดา เต้นรำ เข้าจังหวะกับเสียงหมากกระแร่ง ซึ่งเป็นกระดิ่งผูกคอวัวหรือกระดิ่งให้ดังเสียงดัง

วันที่สอง เป็นพิธีแห่พระเวส ในขบวนประกอบด้วย พระพุทธรูป 1 องค์ พระสงฆ์ 4 รูป นั่งบนแคร่หามตามด้วย เจ้าพ่อกวน นั่งอยู่บนกระบอกบั้งไฟ ท้ายขบวนเป็นเจ้าแม่นางเทียม กับบริวาร ชาวบ้าน และเหล่าผีตาโขน เดินตามเสด็จไปรอบเมือง ก่อนตะวันตกดิน สำหรับคนที่เล่นเป็นผีตาโขนใหญ่ ต้องถอดเครื่องแต่งกายผีตาโขนใหญ่ออกให้หมดและนำไปทิ้งในแม่น้ำหมัน ห้ามนำเข้าบ้าน เป็นการทิ้งความทุกข์ยากและสิ่งเลวร้ายไป รอจนปีหน้าฟ้าใหม่แล้วค่อยทำเล่นกันใหม่

วันที่สาม เป็นการรวมเอางานบุญประเพณีประจำเดือนต่างๆของปีมารวมกันจัดในงานบุญหลวง ประชาชนจะมานั่งฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ ที่วัดโพนชัย เพื่อเป็นการสร้างกุศลและเป็นมงคลแก่ชีวิต

        งานประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน ถือเป็นงานที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอันดีงามที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย


บุญบั้งไฟ

   บุญบั้งไฟ เป็นหนึ่งในฮีตสิบสองเดือนของชาวอีสาน นิยมทำกันในเดือน 6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงฤดูฝนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่าน ไถ เพื่อเป็นการบูชาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล เหมือนกับการแห่นางแมวของคนภาคกลาง
 
  ในสองพิธีกรรมที่อยู่คนละภาคนี้ มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของสัญลักษณ์ที่ใช้อันส่อไปทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ไม้มาแกะสลักเป็นอวัยวะเพศชายเรียกว่า "บักแบ้น" หรือ "ปลัดขิก" ในอีสานหรือ "ขุนเพ็ด" ในภาคกลางเข้าร่วมขบวนแห่ ทั้งยังมีการร้องเซิ้งด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับอวัยวะเพศและเพศสัมพันธ์

  สัญลักษณ์นี้เป็นเครื่องหมายของความสัมพันธ์ระหว่าง ฟ้ากับดิน หญิงกับชาย ที่เป็นพลังก่อกำเนิดชีวิต และเป็นพลังแห่งความอุดมสมบูรณ์ จึงมีความสัมพันธ์กับการขอฝน ซึ่งเป็นที่มาของพลังแห่งการเติบโตของพืช และด้วยเหตุที่อวัยวะเพศ และเพศสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์สำคัญของงานบุญ จึงถือว่างานบุญบั้งไฟเป็น งานบุญของพระยามาร ซึ่งจัดแข่งกับงานบุญของพระพุทธเจ้า






   บุญบั้งไฟมีตำนานเล่าขานมานาน จากนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่ เรื่องพระยาคันคาก ล้วนแต่กล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อให้แถน (เทวดา) ได้บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ถือเป็นประเพณีอันสำคัญที่จะละเลยมิได้ เพราะมีความเชื่อว่า หากหมู่บ้านใดไม่จัดงานบุญบั้งไฟก็อาจจะก่อให้เกิดภัยภิบัติแก่ผู้คนในชุมชน งานบุญบั้งไฟเป็นงานใหญ่ ลงทุนสูง การจัดงานจะต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของชุมชน หากปีใดเศรษฐกิจในชุมชนฝืดเคืองอาจจะต้องงดจัดงาน ซึ่งต้องไปทำพิธีขอเลื่อนการจัดที่ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรพบุรุษหรือเทพารักษ์) ของหมู่บ้าน ความจริงแม้จะจัดหรือไม่ก็ต้องมีการไปกระทำพิธีเซ่นไหว้ที่ศาลปู่ตาอยู่ดี

บุญบั้งไฟ


ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทางพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าทีคอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้